กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
Strategy and Planning Division
 

ส่วนวางแผนและประเมินผล

ส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ

ส่วนวิเคราะห์และติดตามการจัดเก็บภาษีอากร

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 1 เข้าชม ณ เวลานี้
  • 23 เข้าชมวันนี้
  • 581 เข้าชมเดือนนี้
  • 45,568 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : +662-667-7609 โทรสาร : +662-667-6864

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

องค์การศุลกากรโลก 
(World Customs Organization: WCO)

ความเป็นมาของ WCO
องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2496 (วันที่ 26 มกราคมของทุกปีจึงถือเป็น วันศุลกากรสากล) ในชื่อ “คณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร” (Customs Cooperation Council: CCC) จัดเป็นองค์การอิสระร่วมของกลุ่มรัฐบาลระหว่างประเทศ มีหน้าที่ในการเสริมสร้างและสนับสนุนการดำเนินงานและการบริหารงานของศุลกากรประเทศสมาชิกต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ปัจจุบันมีประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกรวม 180 ประเทศ โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การศุลกากรโลกเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 และเป็นสมาชิกของศุลกากรโลกภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เลขาธิการองค์การศุลกากรโลกคนปัจจุบันคือ นายคูนิโอะ มิคูริยะ จากประเทศญี่ปุ่น

หน้าที่หลักขององค์การศุลกากรโลก
หน้าที่หลักขององค์การศุลกากรโลก คือ พัฒนาและบริหารเครื่องมือเพื่อปรับปรุงพิธีการและระบบงานศุลกากรของประเทศสมาชิกให้ทันสมัยและสอดคล้องกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างศุลกากรประเทศต่างๆ และระหว่างศุลกากรกับภาคเอกชน รวมไปถึงความร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นๆ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกัน 

โครงสร้างการบริหารงานขององค์การศุลกากรโลก
โครงสร้างการบริหารงานขององค์การศุลกากรโลก แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องออกเป็นฝ่ายต่างๆ ภายใต้การบริหารของเลขาธิการองค์การศุลกากรโลก ดังนี้ 
• Tariff and Trade Affairs Directorate ทำหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการจำแนกพิกัดศุลกากร การประเมินราคา และกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า 
• Capacity Building Directorate ทำหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเสริมสร้างศักยภาพของศุลกากรประเทศสมาชิกและโครงการการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการต่างๆ 
• Compliance and Facilitation Directorate มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบทางศุลกากร และการอำนวยความสะดวกทางการค้า ควบคู่ไปกับการรักษาความปลอดภัยห่วงโซ่อุปทานของการค้าระหว่างประเทศ

แผนผังโครงสร้างการบริหารงานขององค์การศุลกากรโลก



























กลไกการดำเนินงานขององค์การศุลกากรโลก
องค์การศุลกากรโลกมีกลไกการดำเนินงานในรูปแบบคณะมนตรี คณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการต่างๆ ได้แก่ 
1. การประชุมคณะมนตรี (Council Session) ประชุมช่วงเดือนมิถุนายน หรือกรกฎาคม ของทุกปี
2 .คณะกรรมาธิการด้านนโยบาย (Policy Commission) ประชุมปีละ 2 ครั้ง คือเดือนมิถุนายน หรือกรกฎาคม และเดือนธันวาคม
3. คณะกรรมการด้านการเงิน (Finance Committee) 
4. คณะกรรมการด้านการป้องกันและปรามปราม (Enforcement Committee)
5. คณะกรรมการด้านเทคนิคถาวร (Permanent Technical Committee) 
6. คณะกรรมการระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized System Committee) 
7. คณะกรรมการเทคนิคด้านกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Technical Committee on Rules of Origin)
8. คณะกรรมการด้านการประเมินราคา (Technical Committee on Customs Valuation)
9. คณะกรรมการด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถ (Capacity Building Committee)  

ประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการเป็นสมาชิกองค์การศุลกากรโลก
1. ได้เรียนรู้และนำวิธีการดำเนินงานศุลกากรที่ทันสมัยและเป็นมาตรฐานโลกมาปรับใช้  ทั้งงานด้านพิกัดอัตราศุลกากร ด้านราคาศุลกากร ด้านการป้องกันและปราบปราม ด้านวิชาการและการฝึกอบรม 
2. มีโอกาสได้รับทุนฝึกอบรมต่างๆ จาก WCO ซึ่งเป็นการพัฒนาบุคลากรของกรมฯ และได้เข้าร่วมประชุมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวิธีการทำงานด้านศุลกากร
3. ได้มีเครือข่ายความร่วมมือด้านศุลกากรที่สามารถประสานงานหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนสมาชิกอื่นได้เมื่อต้องการความช่วยเหลือ
4. สร้างความน่าเชื่อถือให้กับกรมศุลกากร ในฐานะหน่วยงานที่มีการดำเนินงานสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ

 

วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 เมษายน 2559 11:10:46
จำนวนผู้เข้าชม : 8,686
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : +662-667-7609

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน
ลิขสิทธิ์ © 2015 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนนวัตกรรมผลและคลังข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลการ