กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
Strategy and Planning Division
 

ส่วนวางแผนและประเมินผล

ส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ

ส่วนวิเคราะห์และติดตามการจัดเก็บภาษีอากร

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 1 เข้าชม ณ เวลานี้
  • 5 เข้าชมวันนี้
  • 416 เข้าชมเดือนนี้
  • 46,058 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : +662-667-7609 โทรสาร : +662-667-6864

สปป.ลาว

ชายแดนไทย-ลาว และศุลกากร

จังหวัดชายแดนของไทยที่มีพรมแดนทางบกติดกับประเทศลาวมีจำนวน 12 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีจุดข้ามพรมแดนของสินค้าที่มีสถานะเป็นด่านศุลกากร มีเพียง 8 จังหวัด ดังนี้

·     ด่านศุลกากรเชียงแสน และด่านศุลกากรเชียงของ จังหวัดเชียงราย

·     ด่านศุลกากรทุ่งช้าง จังหวัดน่าน

·     ด่านศุลกากรเชียงคาน และด่านศุลกากรท่าลี่ จังหวัดเลย

·     ด่านศุลกากรหนองคาย จังหวัดหนองคาย

·     ด่านศุลกากรบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

·     ด่านศุลกากรนครพนม จังหวัดนครพนม

·     ด่านศุลกากรมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

·     ด่านศุลกากรช่องเม็ก และด่านศุลกากรเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

โดยด่านที่มีมูลค่าการค้าสูง ได้แก่ ด่านศุลกากรหนองคาย ด่านศุลกากรมุกดาหาร ด่านศุลกากรช่องเม็ก ด่านศุลกากรนครพนม และด่านศุลกากรเชียงของ

ความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทย-ลาว

ไทยและลาวได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2493 ความสัมพันธ์ในปัจจุบันดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยมีปัจจัยเกื้อกูล ได้แก่ ความใกล้ชิดทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม  

โดยศุลกากรไทย-ลาว ได้หารือระดับทวิภาคีเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน ระหว่างวันที่ 20-22 ธันวาคม 2552 โดยประเด็นที่ศุลกากรทั้งสองฝ่ายหารือและมีมติ  ดังนี้

·        การนำระบบราคาแกตต์มาใช้ โดยทั้งสองประเทศจะตั้งคณะทำงานด้านเทคนิคเพื่อความร่วมมือและช่วยเหลือกัน

·        การนำระบบ National Single Window และ E-Customs มาใช้ และเสนอแนะให้ทั้งสองประเทศทดลองเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน

·       ความร่วมมือระหว่างศุลกากรไทยและลาวภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross Border Transport Agreement: GMS-CBTA) โดย   ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานภายใต้ GMS-CBTA และมีมติให้เพิ่มความร่วมมือและความช่วยเหลือกันให้มากยิ่งขึ้น

·        การป้องกันและปราบปรามสินค้าละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีมติให้เพิ่มความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลให้มากยิ่งขึ้

 ·        ความร่วมมือทวิภาคีและการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ

 ·        ความร่วมมือในระดับท้องถิ่นระหว่างด่านศุลกากรที่มีเขตแดนติดกัน โดยมีมติให้สานต่อความร่วมมือในระดับด่านศุลกากรของทั้งสองหน่วยงานต่อไป

นอกจากนี้ ไทย-ลาวยังมีความร่วมมือระดับทวิภาคีที่สำคัญและเกี่ยวเนื่องกับงานศุลกากร ดังนี้

ข้อตกลงทางการค้า (Trade Agreement)

ไทยและประเทศลาว ได้ลงนามข้อตกลงทางกาค้า (Trade Agreement) เมื่อปี 2521 และลงนามแก้ไขปรับปรุงเมื่อปี 2534 ต่อมาได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ระดับ

รัฐมนตรี ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว โดยในการประชุมครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2558 มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศุลกากร คือ

·        ประเด็นเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน โดยมีการเร่งรัดให้เกิดการดำเนินการด้านพิธีการศุลกากรตรวจแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (Single Stop Inspection – SSI)




เว็บบราวเซอร์บนอุปกรณ์ของท่านไม่รองรับการแสดงไฟล์ PDF

คลิกตรงนี้เพื่อดาวน์โหลด


ไฟล์แนบ : สปป.ลาว.pdf
 

วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 3 มีนาคม 2560 11:10:01
จำนวนผู้เข้าชม : 4,851
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : +662-667-7609

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน
ลิขสิทธิ์ © 2015 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนนวัตกรรมผลและคลังข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลการ