กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
Strategy and Planning Division
 

ส่วนวางแผนและประเมินผล

ส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ

ส่วนวิเคราะห์และติดตามการจัดเก็บภาษีอากร

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 1 เข้าชม ณ เวลานี้
  • 18 เข้าชมวันนี้
  • 647 เข้าชมเดือนนี้
  • 46,289 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : +662-667-7609 โทรสาร : +662-667-6864

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

พื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย 

(Joint Development Area : JDA)


พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เป็นพื้นที่เขตไหล่ทวีปบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ที่ประเทศไทยและมาเลเซีย ต่างอ้างสิทธิทับซ้อนกัน ในปี 2515 ไทยและมาเลเซียสามารถตกลงแบ่งอาณาเขตทะเลได้ แต่ไม่อาจตกลงกันได้ในการแบ่งเขตไหล่ทวีปที่อยู่ห่างจากชายฝั่งสงขลาออกไป ทำให้ยังคงมีการอ้างสิทธิทับซ้อนกันเป็นเนื้อที่ 7,250 ตารางกิโลเมตร ต่อมาในปี 2522 รัฐบาลทั้งสองประเทศได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อก่อตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (Malaysia-Thailand Joint Development Area : MTJA) เพื่อบริหารจัดการพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนนี้ และเรียกพื้นที่ทับซ้อนนี้ว่า "พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย" (Joint Development Area : JDA) และตกลงที่จะพัฒนาปิโตรเลียมร่วมกันโดยใช้หลักการแบ่งผลประโยชน์และค่าใช้จ่ายเท่ากันทั้งสองฝ่าย

ในปี 2537 องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ได้ลงนามให้สิทธิสัญญาสำรวจและผลิตปิโตรเลียม 2 ฉบับ แก่บริษัทเอกชนผู้ประกอบการในพื้นที่ JDA ซึ่งแบ่งพื้นที่สำรวจเป็น 2 พื้นที่ คือ แปลง A-18 ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 3,000 ตารางกิโลเมตร และแปลง B-17 และ C-19 ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 4,250 ตารางกิโลเมตร กลุ่มบริษัทผู้ประกอบการในแปลง A-18 คือ บริษัท Triton Oilจากประเทศไทย (50%) กับบริษัท Petronas Carigali จากประเทศมาเลเซีย (50%) ซึ่งบริษัททั้งสองได้จัดตั้งบริษัท Carigali-Triton Operating Company Sdn.Bhd.(CTOC) เป็นผู้ดำเนินงาน กลุ่มบริษัทผู้ประกอบการในแปลง B-17 และ  C-19 คือ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จากประเทศไทย (50%) กับ บริษัท Petronas Carigali จากประเทศมาเลเซีย (50%) และจัดตั้งบริษัท Carigali –PTTEPI Operating Company Sdn.Bhd. (CPOC) เป็นผู้ดำเนินการ

ปี 2542 ได้มีการลงนามในสัญญาสำคัญ 2 ฉบับ คือ สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 จากพื้นที่ JDA ระหว่างองค์กรร่วม Petronas Carigali, Triton Oil,  Petronas และ ปตท. และสัญญาร่วมทุนระหว่าง ปตท. กับ Petronas ในการใช้ประโยชน์ก๊าซธรรมชาติจาก JDA ในโครงการท่อส่งก๊าซไทย-มาเลเซีย (TTM) และโรงแยกก๊าซ (GSP)ในเขต 5 จังหวัดภาคใต้ของไทย และรัฐตอนเหนือของมาเลเซีย

ในปี 2543 ปตท. และ Petronas  ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด และ Trans Thai-Malaysia (Malaysia) Sdn. Bhd. ขึ้นในประเทศไทยและประเทศมาเลเซียตาม

ลำดับ โดยถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 เท่ากันในทั้งสองบริษัท เพื่อดำเนินธุรกิจให้บริการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่ได้จากแหล่ง JDA มาใช้ประโยชน์ในทั้งสองประเทศ

การผลิตก๊าซในแหล่ง JDA จะแบ่งการผลิตออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 แหล่ง A 18 จะขึ้นฝั่งที่มาเลเซียทั้งหมด โดยเริ่มดำเนินการส่งก๊าซธรรมชาติแล้ว เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2548 ระยะที่2 ขึ้นฝั่งที่ไทยทั้งหมด โดยจะเริ่มต้นผลิตในปี 2551 เพื่อสอดรับกับการวางท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย

credit: http://www.boi.go.th/thai/asean/Malaysia/capt7_p1n.html

 

 

วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 19 เมษายน 2559 11:44:36
จำนวนผู้เข้าชม : 4,204
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : +662-667-7609

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน
ลิขสิทธิ์ © 2015 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนนวัตกรรมผลและคลังข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลการ