กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
Strategy and Planning Division
 

ส่วนวางแผนและประเมินผล

ส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ

ส่วนวิเคราะห์และติดตามการจัดเก็บภาษีอากร

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 1 เข้าชม ณ เวลานี้
  • 30 เข้าชมวันนี้
  • 374 เข้าชมเดือนนี้
  • 46,016 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : +662-667-7609 โทรสาร : +662-667-6864

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป (อาเซม)

(Asia-Europe Meeting)


ความเป็นมาของ ASEM

ASEM คือ การประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia Europe Meeting) เพื่อให้เกิดความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศเอเชียและกลุ่มประเทศยุโรป ประกอบด้วยสมาชิก 25 ประเทศ คือกลุ่มประเทศเอเชีย 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ฝ่ายกลุ่มประเทศยุโรป ได้แค่ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฟินแลน์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร


วัตถุประสงค์

การประชุมเอเชีย-ยุโรป หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า"อาเซม” (Asia-Europe Meeting – ASEM) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างกันและให้มีการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอย่างกว้างๆ ในเรื่องสนใจร่วมกัน เพื่อปูทางให้เกิดความร่วมมือระหว่างเอเชีย-ยุโรปทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็น 3 เสาหลัก (pillar) 


การประชุม ASEM

ASEM แบ่งการประชุมที่สำคัญเป็น 5 ระดับดังนี้

• ระดับ Leading Meeting เป็นการประชุมระดับผู้นำของประเทศ ประชุมทุก 2 ปี

• ระดับ Ministerial Meeting เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ เศรษฐกิจ การเงิน วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

• ระดับ Senior Officials Meeting : SOM เป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

• ระดับ Working Level เป็นการประชุมระดับคณะทำงาน ประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

• ระดับ Asia Europe Business Forum : AEBF เป็นการประชุมสภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป ภาคเอกชนของประเทศสมาชิกประจำทุกปี เพื่อหารือถึงความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนในภูมิภาคเอเชียและยุโรป

การประชุมเอเชีย-ยุโรป (ASEM) ระดับ Leading Meeting จัดขั้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1-2 มีนาคม 2539 ที่ประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ที่ประมุขและหัวหน้ารัฐบาลจากกลุ่มประเทศเอเชียและกลุ่มประเทศยุโรป 25 ประเทศ มาประชุมกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างประเทศ มีการหารืออย่างกว้างๆ ในเรื่องที่มีความสนใจร่วมกัน รวมทั้งได้ร่วมกันวางแนวทางความร่วมมือในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียและยุโรป


หลักการของ ASEM

ความร่วมมือภายใต้กรอบ ASEM มีสาระสำคัญดังนี้

1. จะดำเนินไปบนหลักการของความสมัครใจของประเทศสมาชิก

2. มีลักษณะที่ไม่เป็นทางการเกินไป

3. ไม่มีการจัดตั้งองค์กรถาวรใดๆ มารองรับการดำเนินการตามความตกลงของ ASEM


การดำเนินการภายใต้ ASEM

ASEM ก่อให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน เพื่อส่งเสริมและเกื้อกูลต่อระบบการค้าพหุภาคี และระดับภูมิภาพแบบเปิด และส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนของภูมิภาคเอเชียและยุโรป โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม SEMs โดยมีแผนปฏิบัติการดังนี้

1. แผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกด้านการค้า(Trade Facilitation Action Plan : TFAP) เป็นกรอบความร่วมมือเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี ส่งเสริมโอกาสทางการคา และสนับสนุนการดำเนินการในเวทีการเจรจาสองฝ่ายและหลายฝ่าย

2. แผนปฏิบัติการส่งเสริมการลงทุน (Investment Promotion Action Plan :IPAP) มี 2 เรื่องได้แก่ การส่งเสริมการลงทุน และนโยบายและกฎระเบียบด้านการลงทุน

3. ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม การเงิน การคลัง และสังคมที่เอื้อประโยชน์ต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ เช่น การจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเอเชียยุโรป  (AEETE) การจัดตั้งกองทุน ASEM Trust Fund ขึ้นภายใต้ธนาคารโลก การจัดตั้งกลุ่มวิสัยทัศน์เอเชีย-ยุโรป การจัดตั้งมูลนิธิเอเชีย-ยุโรป

credit: http://eco-cooperation.exteen.com/20100214/asem


 

วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 19 เมษายน 2559 13:37:27
จำนวนผู้เข้าชม : 20,623
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : +662-667-7609

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน
ลิขสิทธิ์ © 2015 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนนวัตกรรมผลและคลังข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลการ